เมนู

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 2.ทุกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า สังกิเลสิกปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อสังกิเลสิกปัญญา (20)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตต-
สังกิเลสิกปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิก-
ปัญญา (21)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิตกชื่อว่า สวิตักกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิตกชื่อ
ว่า อวิตักกปัญญา (22)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยวิจารชื่อว่า สวิจารปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากวิจาร
ชื่อว่า อวิจารปัญญา (23)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า สัปปีติกปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติชื่อ
ว่า อัปปีติกปัญญา (24)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยปีติชื่อว่า ปีติสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากปีติ
ชื่อว่า นปีติสหคตปัญญา (25)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขชื่อว่า สุขสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุตจากสุขชื่อว่า
นสุขสหคตปัญญา (26)
ปัญญาที่สัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า อุเปกขาสหคตปัญญา ปัญญาที่วิปปยุต
จากอุเบกขาชื่อว่า นอุเปกขาสหคตปัญญา (27)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกามาวจรกุศลและกามาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
กามาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นรูปาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจร ปัญญาที่ไม่นับ
เนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นกามาวจรปัญญา (28)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรกุศลและรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า รูปาวจร-
ปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นอรูปาวจรและปัญญาที่ไม่นับเนื่องใน
วัฏฏทุกข์ชื่อว่า นรูปาวจรปัญญา (29)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรอัพยากฤตชื่อว่า
อรูปาวจรปัญญา ปัญญาที่เป็นกามาวจร ปัญญาที่เป็นรูปาวจร และปัญญาที่ไม่
นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ชื่อว่า นอรูปาวจรปัญญา (30)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :502 }


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [16.ญาณวิภังค์] 3.ติกนิทเทส
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า ปริยาปันน-
ปัญญา ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อปริยาปันนปัญญา (31)
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า นิยยานิกปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลใน
ภูมิ 3 ที่เป็นวิบากในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า อนิยยานิก-
ปัญญา (32)
ปัญญาในมรรค 4 ชื่อว่า นิยตปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 3
ที่เป็นวิบากในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาในภูมิ 3 ชื่อว่า อนิยตปัญญา (33)
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอัพยากฤตในภูมิ 3 ชื่อว่า สอุตตรปัญญา
ปัญญาในมรรค 4 ผล 4 ชื่อว่า อนุตตรปัญญา (34)
บรรดาปัญญาเหล่านั้น อัตถชาปิกปัญญา เป็นไฉน
ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นกุศลในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ผู้กำลังทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ผู้กำลังทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถชาปิก-
ปัญญา ปัญญาในสภาวธรรมที่เป็นวิบากในภูมิ 4 และที่เป็นอัพยากตกิริยาของพระ
อรหันต์ ในเมื่ออภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ชาปิตัตถปัญญา (35)
ญาณวัตถุหมวดละ 2 มีด้วยประการฉะนี้
ทุกนิทเทส จบ

3. ติกนิทเทส
[768] บรรดาญาณวัตถุหมวดละ 3 นั้น จินตามยปัญญา เป็นไฉน
ในการงานทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา ในศิลปะทั้งหลาย1 ที่ต้องจัดการ
ด้วยปัญญา หรือในวิชาทั้งหลายที่ต้องจัดการด้วยปัญญา บุคคลมิได้ฟังจากผู้อื่น ได้
กัมมัสสกตาญาณ2 หรือได้สัจจานุโลมิกญาณ3ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.อ. 768/438
2 ญาณรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน คือ ทำดีได้ดี ทำชัวได้ชั่ว (อภิ.วิ.อ. 768/440)
3 สัจจานุโลมิกญาณ คือ วิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ เพราะอนุโลมตามสัจจะ 4 ประการ
มีรูปไม่เที่ยงเป็นต้น (อภิ.วิ.อ. 768/440)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 35 หน้า :503 }